วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

วงศ์ถั่ว


พืชตระกูลถั่ว เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์ Fabaceae หรือ Leguminosae เป็นพืชกลุ่มใหญ่เป็นอันดับ 3 รองจากพืชวงศ์ทานตะวัน(Compositae) และพืชวงศ์กล้วยไม้ มีสมาชิกประมาณ 550 สกุล 18,000 สปีชีส์ พบกระจายไปทั่วโลก

เนื้อหา

 [ซ่อน]

[แก้]การจัดจำแนก

ผลของVicia angustifolia
พืชในวงศ์นี้แยกได้เป็น 3 วงศ์ย่อยคือ Mimosoideae Ceasalpinioideae และ Papilionatae อย่างไรก็ตาม นักพฤกษศาสตร์บางกลุ่มเช่นในหนังสือ The Family of Flowering Plants ที่เขียนโดย J. Hutchinson เมื่อ พ.ศ. 2516 และหนังสือ Plant Systematics ที่เขียนโดย S.B. Jones Jr. Luchsinger และ A.E. Luchsinger เมื่อ พ.ศ. 2522 ได้จัดให้พืชวงศ์ถั่วทั้งหมดอยู่ในอันดับ Leguminales หรือ Fabales แบ่งเป็น 3 วงศ์ คือ Mimosaceae Ceasalpinaceae และ Papilionaceae [1] สำหรับการจัดจำแนกของกรมป่าไม้ ยังถือตามแบบที่จัดให้พืชตระกูลถั่วอยู่ในวงศ์ Leguminosae และมี 3 วงศ์ย่อย [2]

[แก้]ลักษณะทั่วไป

ส่วนใหญ่พืชตระกูลถั่วเป็นไม้พุ่ม ไม้ยืนต้น หรือไม้ล้มลุก ใบเรียงสลับ มักเป็นใบประกอบแบบ 3 ใบ หรือใบประกอบแบบขนนก อาจเป็นชนิดขนนกชั้นเดียวหรือขนนก 2 ชั้น มีหูใบบนก้านใบและบนราคิสอาจมีต่อมหรือหนาม ใบแผ่กางในเวลากลางวันและหุบในเวลากลางคืน ดอกมีทั้งดอกเดี่ยวและดอกช่อแบบต่างๆ เช่นช่อกระจะ ช่อเชิงลด ช่อกระจุกแน่น และช่อแยกแขนง [3] ลักษณะของดอกแตกต่างกันตามวงศ์ย่อย [4] ผลมีลักษณะเป็นฝักแตกได้ หรือแตกไม่ได้ บางชนิดมีลักษณะค่อนข้างกลม มีปีกแผ่ออกไปโดยรอบ เรียกว่าผลแบบซามารา เช่น ผลประดู่ [5]
ลักษณะดอกของแต่ละวงศ์ย่อยเป็นดังนี้ [6]
  • วงศ์ย่อย Mimosoideae เป็นช่อกระจุกแน่น ช่อกระจะ หรือช่อเชิงลด ดอกย่อยขนาดเล็ก เรียงชิดกันแน่น สมมาตรแบบรัศมี กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ เชื่อติดกันตรงโคนเป็นหลอดสั้นๆ หรือแยกจากกัน เกสรตัวผู้เป็นโครงสร้างที่เด่นของดอก มีเท่ากลีบดอกหรือมากกว่า ก้านเกสรตัวผู้ยาว เกสรตัวเมียมีรังไข่ตั้งตรง และอาจมีก้านชูรังไข่สั้นๆ ตัวอย่างเช่น ดอกกระถิน ดอกไมยราบ ตัวอย่างพืชในกลุ่มนี้เช่น ไมยราบต้นไมยราบเถา
ดอกของWisteria sinensisซึ่งเป็นดอกในวงศ์ย่อย Papilionatae
  • วงศ์ย่อย Papilionoideae ดอกเป็นแบบสมมาตรด้านข้าง กลีบเลี้ยง 5 กลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอด กลีบดอก 5 กลีบเป็นแบบพาพิลิโอเนเซียส เกสรตัวผู้ 10 อัน แยกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งมี 9 อันเชื่อติดกัน ก้านเกสรตัวผู้เชื่อมติดกันตลอดความยาว อีกกลุ่มมี 1 อัน แยกเป็นอิสระ เกสรตัวเมียมีรังไข่ยาวแบนตั้งตรง หรืออาจจะโค้งเล็กน้อย ตัวอย่างเช่น ดอกแค ตัวอย่างพืชในวงศ์นี้เช่น หิ่งเม่น โสนขน ถั่วผี
  • วงศ์ย่อย Ceasalpinioideae ดอกเป็นแบบสมมาตรด้านข้าง แต่บางชนิดคล้ายกับเป็นสมมาตรแบบรัศมี กลีบเลี้ยง 5 กลีบแยกเป็นอิสระ กลีบดอก 5 กลีบเป็นแบบซีซาลพิเนเซียส เกสรตัวผู้ส่วนมากมี 10 อันหรือน้อยกว่า แยกกันเป็นอิสระ บางชนิดมีเกสรตัวผู้ที่เป็นหมัน ก้านเกสรตัวผู้มักยาวไม่เท่ากัน เกสรตัวเมียยาวและโค้งเล็กน้อย ตัวอย่างเช่น ดอกชงโค ดอกทรงบาดาล ตัวอย่างพืชในวงศ์นี้ ได้แก่ ชุมเห็ด มะขาม

[แก้]การนำพืชตระกูลถั่วไปใช้ประโยชน์

การใช้ประโยชน์จากพืชตระกูลถั่วที่สำคัญคือการใช้เป็นปุ๋ยพืชสด ซึ่งการใช้ปุ๋ยพืชสดจากพืชตระกูลถั่วมีได้ 2 แบบคือ[7]
  • ปุ๋ยพืชสดสำหรับพืชไร่บนดินดอน พืชตระกูลถั่วที่นำมาใช้ได้ ต้องมีเมล็ดแข็งแรง งอกง่าย โตเร็ว แข่งกับวัชพืชได้ดี ออกดอกได้เร็ว ง่ายต่อการไถสับกลบลงในดิน ต้านทานต่อโรคพืช พืชตระกูลถั่วที่นิยมใช้เป็นปุ๋ยพืชสดคือ ปอเทือง ถั่วพุ่มและถั่วพร้า
  • ปุ๋ยพืชสดสำหรับในนาข้าวและที่ลุ่ม ซึ่งต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติมคือ องทนต่อสภาพน้ำขัง อายุสั้น ไม่ไวต่อแสง นิยมใช้พืชที่เกิดปมบนลำต้น เช่น โสนแอฟริกัน
ในปัจจุบันมีความพยายามนำวัชพืชที่เป็นพืชตระกูลถั่วมาใช้เป็นปุ๋ยพืชสด เพราะวัชพืชเหล่านี้จะติดปมรากได้ดีกว่า ไม่ต้องคลุกเชื้อไรโซเบียม มีเมล็ดมากอยู่แล้วตามธรรมชาติ[8] วัชพืชตระกูลถั่วที่ถูกเสนอให้ใช้เป็นปุ๋ยพืชสด ได้แก่ โสนขน ซึ่งพบทั่วไปตามที่ลุ่ม เหมาะที่จะใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าว[9]

ประเทศอิสราเอล


อิสราเอล (อังกฤษIsraelฮิบรูיִשְׂרָאֵל ‎; อาหรับإِسْرَائِيل‎) หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า รัฐอิสราเอล (อังกฤษ:State of Israelฮีบรู: מְדִינַת יִשְׂרָאֵל; อาหรับدَوْلَة إِسْرَائِيل‎) เป็นประเทศในทวีปยุโรปและตะวันออกกลาง ปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา และเป็น "รัฐยิว" ตามนโยบายแห่งชาติ ประชากรของอิสราเอลส่วนใหญ่เป็นชาวยิว โดยมีชนกลุ่มน้อยขนาดใหญ่ที่ไม่ใช่ชาวยิว ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยชาวอาหรับที่นับถือศาสนาอิสลามหรือศาสนาคริสต์
อิสราเอลมีพรมแดน (ตามเข็มนาฬิกา) ติดกับประเทศเลบานอน ซีเรีย จอร์แดน และอียิปต์ อิสราเอลมีชายฝั่งบนทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อ่าวไอลัต/อะกาบา (อะกอบะหฺ) (Gulf of Eilat / Aqaba) และทะเลเดดซี

เนื้อหา

 [ซ่อน]

[แก้]ประวัติศาสตร์

ดูบทความหลักที่ ประวัติศาสตร์อิสราเอล
กำเนิดของชาวฮิบรูเริ่มขึ้นเมื่อ 4,000 ปีก่อน โดยบรรพบุรุษของอับราฮัม (อิบรอฮิม) ได้พาครอบครัวของตนอพยพออกมาจากนครอูร์ (Ur) หรือเมืองคลาเดีย ในดินแดนเมโสโปเตเมียของอาณาจักรสุเมเรีย ด้วยเกิดความขัดแย้งเรื่องความเชื่อกับกษัตริย์นิมรูค (Numruk) ผู้ปกครองนครอูร์ ซึ่งอับราฮัมเชื่อว่าพระเจ้าทรงมีเพียงพระองค์เดียว ขัดกับชาวนครอูร์ที่นับถือพระเจ้าหลายองค์ และส่วนใหญ่นับถือบูชาเทพเจว็ด พระเจ้าได้ตรัสกับอับราฮัมว่า ให้ไปยังดินแดนที่อุดมไปด้วยน้ำนมและน้ำผึ้ง พระองค์จะทรงยกดินแดนแห่งนั้นให้กับเชื้อสายของเขา เขาดินทางไปที่ซาม (Saam) หรือดินแดนปาเลสไตน์ (Paslestine) และได้ตั้งถิ่นฐานกันที่นั่น
อับราฮัมมีลูกด้วยกันสองคน คนแรกคือ อิสมาเอล (Yismael) ที่เกิดกับหญิงทาสชื่อว่า นางฮาการ์ (Hagar) คนที่สองคือ อิสอัค (Ishak) หรือไอเซ๊ด (Issic) ที่เกิดกับซาราห์ (Sarah) เชื้อสายของอิสมาเอลที่อพยพไปทางใต้หรือแหลมอาระเบีย ได้กลายเป็นต้นตระกูลของชาวอาหรับทั้งหมด ส่วนเชื้อสายของอิสอัคนั้น เป็นต้นตระกูลของชาวอิสราเอล โดยอิสอัคมีลูกด้วยกันสองคนคือ เอซาว (Esau) และยาโคบ (Jacob) หรืออิสราเอล ยาโคบ Jacob หรือ อิสราเอล มีลูกด้วยกันสิบสองคนคือ รูเบน สิเมโอน เลวี ยูดาห์ เศบูลุน อิสสาคาร์ ดาน อาเชอร์ กาด นัฟทาลี โยเซฟ และเบนยามิน โดยเรียกบุตรสิบสองคนนี้ว่า อิสราเอลไลย์ (israeliah)
ต่อมาได้เกิดภัยแล้งขึ้น ยาโคบ หรืออิสราเอล และครอบครัว ต้องทำมาหากินด้วยความยากลำบาก โยเซฟ บุตรคนหนึ่งของยาโคบได้ไปเป็นผู้ดูแลราชอาณาจักรในอียิปต์ เขาได้นำพี่น้องทั้งหมดที่ต้องประสบกับภัยแล้งในคานาอันเข้ามาอยู่อาศัยในแผ่นดินอียิปต์ ครั้นพอสิ้นโยเซฟไป ฟาโรห์องค์ต่อมาได้เกิดความไม่ไว้ใจต่อชาวฮีบรู จึงลดฐานะให้เป็นทาส แล้วเกณฑ์แรงงานไปใช้ในการก่อสร้างพีรมิด และมีคำสั่งให้ประหารชีวิตเด็กเกิดใหม่เป็นจำนวนมาก มีทารกเพศชายคนหนึ่งรอดตายจากคำสั่งประหารนั้นมาได้ ชื่อว่า "โมเสส" (Moses) โมเสสเติบโตขึ้น เป็นผู้พาพวกอิสราเอล หรือ ฮีบรูถึง 300,000 คนออกจากอียิปต์กลับไปสู่ประเทศปาเลสไตน์ ระหว่างทางที่โมเสสนำชาวอิสราเอลกลับไปยังดินแดนแห่งพันธสัญญาที่ยาโคบเคยอยู่ โมเสสได้พบพระเจ้าที่ภูเขาซีนาย และรับพระบัญญัติ 10 ประการ ที่นั่น
พวกฮีบรูมีความสามัคคีและมีกำลังเข้มเข็งขึ้น จึงได้ทำการรวบรวมดินแดนโดยรอบ อันได้แก่ ดินแดนของพวกคานัน และพวกอาราเอลไลท์ แต่ก็ถูกรุกรานจากพวกพวกฟิลิเตีย (Philistine) ซึ่งอพยพจากเกาะครีต (Crete) และเข้ามาตั้งภูมิลำเนาอยู่แถบชายทะเล ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปาเลสไตน์ และพวกอามอไรท์กับฮิตไตท์จากทางเหนือ ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีกษัตริย์ปกครอง พวกอิสราเอลไลท์ได้พร้อมใจกันเลือกหัวหน้ากลุ่มที่เข้มแข็งขึ้นมาผู้หนึ่งชื่อ "ซาอูล" (Saul) ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์แรก เมื่อประมาณ 1,050 ปี ก่อนคริสตกาล หลังจากนั้น ชาวยิวมีกษัตริย์ที่เก่งกล้าอีก 2 องค์คือกษัตริย์ดาวิดและกษัตริย์โซโลมอน เมื่อกษัตริย์โซโลมอนสิ้นพระชนม์ เมื่อ ปี 930 ก่อนคริสต์ศักราช ทำให้อาณาจักรของโซโลมอนแตกออกป็นสองส่วนคือ อาณาจักรอิสราเอล (The Kingdom of Israel) โดยมีกรุงสะมาเรียเป็นเมืองหลวง และอาณาจักรยูดาห์ (The Kingdom of Judah) โดยมีเยรูซาเล็มเป็นศูนย์กลาง
350 ปีต่อมา อาณาจักรทั้งสองต้องล่มสลายไป โดยอาณาจักรที่ล่มสลายไปแห่งแรกคือ อาณาจักรอิสราเอล ถูกยึดครองโดยพวกอัสซีเรียน (Assyrian) ในปี 721 ก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งนำโดยกษัตริย์ซาร์กอนที่ 2 และกวาดต้อนชาวยิวไปยังอัสซีเรีย ต่อมา ปี 587 ก่อนคริสต์ศักราช อาณาจักรยูดาห์ต้องล่มสลายโดยเนบูคัดเนสซาร์แห่งอาณาจักรแคลเดียมีชัยต่ออัสซีเรีย จึงตัดสินใจบุกอาณาจักยูดาห์ต่อ เขาได้ทำลายมหาวิหารยะโฮวาห์ และกวาดต้อนชาวอาณาจักรยูดาห์ไปยังบาบิโลน หลังจากอาณาจักรทั้ง 2 แตกไป ชาวยิวต้องอยู่ภายใต้การปกครองของเปอร์เซีย กรีก โรมัน เป็นอิสระได้ในระยะเวลาสั้นๆ ในที่สุด ถูกเนรเทศเกือบทั้งหมดและบางส่วนถูกฆ่า ชนชาติอิสราเอลจึงได้กระจัดกระจายไปยังแอฟริกา ยุโรป เปอร์เซีย และแหลมอารเบีย ต่อมาปี ค.ศ 632 ดินแดนปาเลสไตน์ กลับมาเป็นของชนกลุ่มน้อยที่เคยอยู่มาก่อนที่อับราฮัมจะเข้ามา นั่นคือชาวฟิลิเตียหรือชาวปาเลสไตน์ ต่อมาโซจุเตริกท์ประมุขแห่งอิสลามได้เข้าครอบครองเยรูซาเร็ม
เมื่อประเทศอังกฤษมีอำนาจและอิทธพลในดินแดนแถบนี้ ได้อนุญาตให้ชาวอิสราเอลเดินทางกลับสู่มาตุภูมิได้ตามมติสหประชาชาติ ที่ชาวยิวขอตั้งรัฐอิสระโดยภายใต้การนำของดิโอเดอร์ เฮริท์ ในนาม 'กลุ่มไซออนนิสต์' ซึ่งสหประชาชาติได้แบ่งดินแดนแห่งนี้เป็น 60% ของชาวอิสราเอล และ 40% เป็นของชาวฟิลิเตียหรือปาเลสไตน์ ทำให้มีการจัดตั้งประเทศอิสราเอลในที่สุด

[แก้]การเมือง

- อิสราเอลปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุขซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยสมาชิกสภา Knesset มีวาระครั้งละ 7 ปี ประธานาธิบดีคนปัจจุบันได้แก่นาย Shimon Peres ซึ่งได้รับการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2550 คณะรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งมีวาระครั้งละ 4 ปี รัฐบาลชุดปัจจุบันมาจากการเลือกตั้งครั้งล่าสุด เมื่อ 28 มีนาคม 2549 นำโดยนายกรัฐมนตรี Ehud Olmert จากพรรค Kadima ประกอบด้วยรัฐมนตรีจากพรรคร่วมรัฐบาล จำนวน 5 พรรค คือ
1) Kadima 9 ตำแหน่ง
2) Labour 6 ตำแหน่ง
3) Shas 4 ตำแหน่ง
4) Gil 2 ตำแหน่ง
5) Yisrael Beiteinu ซึ่งเป็นพรรคนิยมขวา 2 ตำแหน่ง (ตั้งแต่ตุลาคม 2549 )
และไม่สังกัดพรรค 1 ตำแหน่ง รวมทั้งสิ้น 25 คน
- สมาชิกสภา Knesset ซึ่งทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎรและสถาบันทางนิติบัญญัติ ประกอบด้วยสมาชิก 120 คน มีวาระครั้งละ 4 ปี ประกอบด้วยผู้แทนจากพรรคสำคัญ ๆ ดังนี้
1) Kadima ซึ่งเป็นพรรคสายกลาง 29 ที่นั่ง
2) Labour ซึ่งเป็นพรรคนิยมซ้าย 19 ที่นั่ง
3) Shas ซึ่งเป็นพรรคอนุรักษ์นิยม (Ultra-orthodox) 12 ที่นั่ง
4) Likud ซึ่งเป็นพรรคนิยมขวาสายกลาง 12 ที่นั่ง
5) Yisrael Beiteinu ซึ่งเป็นพรรคนิยมขวา 11 ที่นั่ง
6) Yisrael Beiteinu ซึ่งเป็นพรรคนิยมขวา 11 ที่นั่ง
7) National Union ซึ่งเป็นพรรคนิยมขวา 9 ที่นั่ง
8) Gil ซึ่งเป็นพรรคของผู้เกษียณอายุ 7 ที่นั่ง
- รัฐบาลอิสราเอลให้ความสำคัญสูงสุดต่อนโยบายความมั่นคงภายในประเทศ และการป้องกันภัยคุกคามต่อชีวิตและทรัพย์สินเฉพาะของชาวอิสราเอล ความล้มเหลวของการเจรจาสันติภาพก่อให้เกิดการลุกฮือด้วยกำลังของชาวปาเลสไตน์ (Intifada) ในปี 2543 ได้นำไปสู่วงจรความขัดแย้งที่รุนแรงระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ นอกจากนี้ การจัดตั้งรัฐบาลใหม่ของอิสราเอลเมื่อเดือนพฤษภาคม 2549 และการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ของปาเลสไตน์ โดยกลุ่มฮามาสเมื่อเดือนมีนาคม 2549 ซึ่งประกาศไม่ยอมรับการมีอยู่ของรัฐอิสราเอล ส่งผลให้ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์เพิ่มความตึงเครียดขึ้น
- อนึ่ง เมื่อเดือนมิถุนายน 2550 กลุ่มฮามาสสามารถยึดครองฐานที่ตั้งของฝ่ายฟาตาห์ทั้งหมดในกาซาโดยการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย ส่งผลให้ประธานาธิบดี Mahmoud Abbas ตะวันตก และอิสราเอล ยอมไม่ได้จึงประกาศกฎอัยการศึก และประกาศถอดถอนนายกรัฐมนตรี Ismail Haniyaa ผู้นำฝ่ายฮามาส และถอดถอนรัฐมนตรีฝ่ายฮามาสทั้งหมด โดยแต่งตั้งนาย Salam Fayyad อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังปาเลสไตน์ เป็นนายกรัฐมนตรีแทน และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีปาเลสไตน์ชุดใหม่ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มฟาตาห์ทั้งหมด โดยมีฐานที่ตั้งในเขตเวสต์แบงค์ เรียกได้ว่าอิสราเอลได้ล้มล้างระบอบประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นชาวปาเลสไตน์ลงทั้งหมด
- อิสราเอล สหรัฐอเมริกา EU รัสเซีย (กลุ่ม Quartet) OIC และ อียิปต์ ได้ผลักดันแต่งตั้งรัฐบาลปาเลสไตน์ภายใต้กลุ่มฟาตาห์ โดยอิสราเอลได้เริ่มเจรจาสันติอีกครั้งกับประธานาธิบดี Abbas และได้โอนเงินภาษีปาเลสไตน์ที่อิสราเอลยึดไว้คืนให้ 118 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากทั้งหมด 600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และปล่อยตัวนักโทษปาเลสไตน์ (ฝ่ายฟาตาห์) 255 คน จากทั้งหมด 11,000 คน รวมทั้ง อภัยโทษให้ผู้ต้องหาปาเลสไตน์หัวรุนแรง ซึ่งประธานาธิบดี Abbas ได้สั่งการให้กลุ่มติดอาวุธฟาตาห์เกือบทั้งหมด 300 คน วางอาวุธ เพื่อเป็นการตอบแทน
- อย่างไรก็ตาม อิสราเอลยังคงมีความระมัดระวังในการเจรจากับกลุ่มฟาตาห์ โดยอิสราเอลยังคงเรียกร้องให้กลุ่มฟาตาห์เจรจาให้กลุ่มติดอาวุธปาเลสไตน์อื่นๆ ยอมรับเงื่อนไข 3 ประการของกลุ่ม Quartet ได้แก่
(1) การยุติความรุนแรง
(2) การยอมรับการมีอยู่ของรัฐอิสราเอลและรัฐปาเลสไตน์ และยอมรับรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้ง (ฟาตาห์)
(3) การยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อตกลงสันติภาพต่างๆ กับอิสราเอลในอดีต
- อิสราเอลยังคงไม่ส่งมอบพื้นที่ยึดครองในเวสต์แบงค์ หรือรื้อถอนจุดตรวจค้นระหว่างอิสราเอล-เวสต์แบงค์ หรือการยุติการก่อสร้างที่อยู่อาศัยชาวอิสราเอลในพื้นที่ปาเลสไตน์ ที่กระทำมาโดยตลอด 60 ปี ตามที่รัฐบาลปาเลสไตน์และสมาชิกสหประชาชาติส่วนใหญ่ต้องการ
- ทั้งนี้ โดยที่การจัดตั้งรัฐบาลของอิสราเอลที่ผ่านมาล้วนเป็นแบบรัฐบาลผสม ทำให้การดำเนินนโยบายของรัฐบาลอิสราเอลมีความอ่อนไหวสูงต่อข้อเรียกร้องของพรรคร่วมรัฐบาลและกลุ่มกดดันทางการเมืองภายในประเทศ

[แก้]การแบ่งเขตการปกครอง

ประเทศอิสราเอลแบ่งเป็น 6 เขต (เมโฮซอต [mehozot]; เอกพจน์ เมฮอซ [mehoz]) และ 13 เขตย่อย (นาฟอต [nafot]; เอกพจน์ นาฟา [nafa])
เมืองเอก: เยรูซาเลม
เมืองเอก: นาซาเรธ (Nazareth)
    • เซฟัต (Zefat)
    • คินเนเรต (Kinneret)
    • ยิซเรเอล (Yizre'el)
    • อัคโค (Akko)
    • โกลัน (Golan)
  • เขตไฮฟา (Haifa District หรือ Mehoz Hefa เมฮอซเฮฟา)
เมืองเอก: ไฮฟา
    • ไฮฟา (Haifa)
    • ฮาเดรา (Hadera)
  • เขตกลาง (Center District หรือ Mehoz HaMerkaz เมฮอซฮาเมอร์คาซ)
เมืองเอก: รามลา
    • ชารอน (Sharon)
    • เปตาห์ติกวา (Petah Tiqwa)
    • รามลา (Ramla)
    • เรโฮวอต (Rehovot)
  • เขตเทลอาวีฟ (Tel Aviv District หรือ Mehoz Tel-Aviv เมฮอซเทล-อาวีฟ)
เมืองเอก: เทลอาวีฟ
  • เขตใต้ (Southern District หรือ Mehoz HaDarom เมฮอซฮาดารอม)
เมืองเอก: เบเออร์เชวา
    • อัชเกลอน (Ashqelon)
    • เบเออร์เชวา (Be'er Sheva)

[แก้]ภูมิศาสตร์

แบบเมดิเตอร์เรเนียน ร้อนแห้งในฤดูร้อน เย็นปานกลาง และมีฝนตกเล็กน้อยในฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ย ระหว่าง 8 - 36 องศา ฝนตกประมาณปีละ 64 วัน ปริมาณ 539 มิลลิเมตร

[แก้]เศรษฐกิจ

ระบบเศรษฐกิจอิสราเอลมีลักษณะผสมผสานระหว่างการที่รัฐเข้าไปมีบทบาทควบคุมกิจการที่มีกำลังการผลิตและการจ้างงานสูง ขณะที่ภาคเอกชนก็สามารถมีกิจการได้โดยเสรี โดยทั่วไปแล้ว เศรษฐกิจของอิสราเอลจะอยู่ใต้อิทธิพลของความจำเป็นด้านความมั่นคง
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ต้นไม้ ธาตุทองแดง โปแตช ก๊าซธรรมชาติ หินฟอสเฟต โบรมีน
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 1.9 (ปี 2549)
อัตราผู้ว่างงาน ร้อยละ 8.5 (ปี 2549)
สินค้าส่งออกที่สำคัญ เครื่องจักรและอุปกรณ์ software เพชรเจียระไน ผลิตภัณฑ์เกษตร เสื้อผ้า
สินค้านำเข้าที่สำคัญ วัตถุดิบ อาวุธยุทโธปกรณ์ เชื้อเพลิง เพชร เมล็ดข้าว สินค้าอุปโภคบริโภค
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมนี เบลเยี่ยม สวิตเซอร์แลนด์ จีน ฮ่องกง - ตลาดส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม ฮ่องกง สหราชอาณาจักร - ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร

[แก้]ประชากร

มีจำนวนประมาณ 6 ล้านคน ร้อยละ 90 อาศัยอยู่ในเขตเมืองที่ทันสมัย แต่ก็มีบางส่วนที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองเก่า ส่วนประชากรอีกร้อยละ 6 อยู่ในชนบทโดยเป็นสมาชิกสหกรณ์ 2 ลักษณะคือ คิบบุตซ์ และโมชาฟ ชาวอิสราเอลมีหลายชาติพันธ์ ทั้งชาวยิว และชนอาหรับพื้นเมือง รวมทั้งชาวยิวที่อพยพมาจากยุโรป แอฟริกา เอเชีย และประเทศตะวันออกกลางอื่น ๆ ประชากรส่วนใหญ่ อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ ๆ อาทิ เทลอาวีฟ เยรูซาเล็ม และไฮฟา ที่เหลือกระจัดกระจายตามพื้นที่การเกษตรทั่วประเทศชาวอิสราเอล ร้อยละ 82 นับถือศาสนายูดาย (Judaism) ที่เหลือนับถือศาสนาอิสลาม (14 %) คริสต์ (2%) อายุเฉลี่ย 79.46 ปี ชาย 77.33 ปี หญิง 81.7 ปี อัตราการเขียนออกอ่านได้ ร้อยละ 95.4

[แก้]วัฒนธรรม

อิสราเอลมีวัฒนธรรมทั้งเก่า และใหม่ผสมผสานกัน กล่าวคือ วัฒนธรรมโบราณของยิวที่เก่าแก่กว่า 4000 ปี และวัฒนธรรมใหม่ที่เกิดจากการหลั่งไหลของชาวยิวจากทั่วโลกที่กลับเข้าไปตั้งถิ่นฐานในอิสราเอลภายหลังการก่อตั้งรัฐอิสราเอล เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2491 ชาวอิสราเอลร้อยละ 90 อาศัยอยู่ในเขตเมืองที่ทันสมัย แต่ก็มีบางส่วนที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองเก่า ส่วนประชากรอีกร้อยละ 6 อยู่ในชนบทโดยเป็นสมาชิกสหกรณ์ 2 ลักษณะคือ คิบบุตซ์ และโมชาฟ

[แก้]ศาสนา

ส่วนใหญ่นับถือศาสนายูดาย 80.1% ศาสนาอิสลาม 14.6% ศาสนาคริสต์ 2.1% ศาสนาบาไฮ และอื่น ๆ อีก 3.2%

[แก้]เชื้อชาติ

ยุโรป 32.1% อิสราเอล 20.8% อาหรับ 19.9% แอฟริกา 14.6% เอเชีย 12.6%

[แก้]