วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ฟัน

ฟัน เป็นอวัยวะที่อยู่ภายในช่องปากของคนและสัตว์ มีส่วนรากติดอยู่กับขากรรไกรและมีตัวฟันโผล่พ้นเหงือกออกมา
ฟันเป็นอวัยวะที่เจริญมาจากเนื้อเยื้อชั้นนอก (Ectoderm) เช่นเดียวกับผิวหนังหรือเกร็ดปลา ฟันเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งในระบบย่อยอาหาร หน้าที่หลักของฟันคือ ฉีก บด อาหารให้คลุกเคล้ากับน้ำลาย และนอกจากนี้ยังมีส่วนสำคัญในการพูดออกเสียงด้วย
ลักษณะของฟันมีส่วนเกี่ยวข้องกับลักษณะอาหารของสัตว์แต่ละประเภทเช่นเดียวกับวิวัฒนาการ ตัวอย่างเช่น พืชนั้นยากที่จะย่อยดังนั้น สัตว์กินพืช (Herbivore) จึงต้องมีฟันกรามหลายซี่เพื่อใช้ในการเคี้ยว ส่วนสัตว์กินเนื้อ (Carnivore) ต้องมีฟันเขี้ยวเพื่อฆ่าและฉีกเหยื่อและเนื้อนั้นย่อยง่าย พวกมันจึงกลืนได้โดยที่ไม่ต้องใช้ฟันกรามเคี้ยวมากนัก

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ประเภทของฟัน

  • ฟันตัดหน้าซี่กลาง (central incisor) : ขากรรไกรบน 2 ซี่ ขากรรไกรล่าง 2 ซี่
  • ฟันตัดหน้าซี่ข้าง (lateral incisor) : ขากรรไกรบน 2 ซี่ ขากรรไกรล่าง 2 ซี่: ฟันตัดหน้าทั้งสองประเภททำหน้าที่ตัดอาหาร ในสัตว์ที่กินอาหารโดยการแทะฟันนี้จะเจริญที่สุด
  • ฟันเขี้ยว (cuspid or canine) : ขากรรไกรบน 2 ซี่ ขากรรไกรล่าง 2 ซี่: ทำหน้าที่ตัด ฉีก หรือแยกอาหารออกจากกัน
  • ฟันกรามน้อย (premolar) : ขากรรไกรบน 4 ซี่ ขากรรไกรล่าง 4 ซี่: ทำหน้าที่ตัดและฉีกอาหาร (สัตว์กินเนื้อเช่น เสือ สุนัข แมว จะมีเขี้ยวและกรามน้อยเจริญดีและแข็งแรงเป็นพิเศษ)
  • ฟันกราม (molar) : ขากรรไกรบน 6 ซี่ ขากรรไกรล่าง 6 ซี่: ทำหน้าที่เคี้ยวและบดอาหาร

[แก้] ส่วนประกอบของฟัน

  • เคลือบฟัน (enamel) : เป็นส่วนที่แข็งที่สุดของฟันมีส่วนประกอบของแคลเซียมและฟอสเฟต
  • เนื้อฟัน (dentine) : เป็นส่วนที่แข็งน้อยกว่าเคลือบฟัน มีความแข็งพอๆกับกระดูก ชั้นนี้มีการสร้างและสลายอยู่ตลอดเวลา เป็นชั้นที่มีเซลล์เป็นจำนวนมาก
  • โพรงประสาทฟัน (pulp) : เป็นที่อยู่ของเส้นเลือดที่นำอาหารมาหล่อเลี้ยงฟัน และนำของเสียออกจากฟัน และมีเส้นประสาทรับความรู้สึกของฟัน
  • เคลือบรากฟัน (cementum) : เป็นส่วนของเนื้อเยื่อปริทันต์ที่อยู่ภายในรากฟัน ด้านหลังของเหงือก ซึ่งมีเส้นประสาทไหลเวียนมาก
  • ชั้นร่องเหงือก (gingival crevice) : ร่องระหว่างเหงือกตัวฟันกับขอบเหงือก มีความลึกประมาณ 2 มิลลิเมตร
  • เหงือก (gingiva) : เนื้อเยื่อที่หุ้มตัวฟันและกระตูกขากรรไกรไว้
  • กระดูกเบ้ารากฟัน (alveolar bone) : ส่วนกระดูกที่รองรับรากฟัน

[แก้] ฟันของมนุษย์

โดยปกติคนเรามีฟันสองชุด
ชุดแรกคือ ฟันน้ำนม (deciduous teeth) ฟันชุดนี้จะเริ่มขึ้นเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน และขึ้นครบ 20 ซี่เมื่ออายุประมาณ 2 ขวบครึ่ง

+ตารางแสดงระยะการขึ้นของฟันซี่ต่างๆ (ฟันน้ำนม)ซี่ฟันน้ำนมฟันบนฟันล่าง
อายุที่ควรขึ้นอายุที่ควรหลุดอายุที่ควรขึ้นอายุที่หลุด
ฟันตัดหน้าซี่กลาง7 เดือนครึ่ง7 ปีครึ่ง6 เดือน6 ปี
ฟันตัดหน้าซี่ข้าง9 เดือน8 ปี7 เดือน7 ปี
ฟันเขี้ยว18 เดือน10 ปีครึ่ง16 เดือน9 ปีครึ่ง
ฟันกรามซี่ที่ 114 เดือน10 ปีครึ่ง12 เดือน10 ปี
ฟันกรามซี่ที่ 224 เดือน10 ปีครึ่ง20 เดือน11 ปี

ฟันชุดที่สองคือ ฟันแท้หรือฟันถาวร (permanent teeth) ฟันชุดนี้มีทั้งหมด 32 ซี่ ฟันชุดนี้จะเริ่มขึ้นเมื่ออายุประมาณ 6 ขวบ แต่จะขึ้นครบ 28 ซี่ เมื่ออายุครบ 12 ปี โดยที่เหลือคือฟันกรามซี่สุดท้าย 4 ซี่จะขึ้นมาในช่วงอายุ 18-25ปี แต่ถ้าฟันทั้ง 4 ซี่ดังกล่าวไม่ขึ้นมาก็จะกลายเป็นฟันคุด

ตารางแสดงระยะการขึ้นของฟันซี่ต่างๆ (ฟันแท้)
ซี่ฟันแท้อายุที่ควรขึ้น
ฟันตัดหน้าซี่กลาง7 ปี
ฟันตัดหน้าซี่ข้าง8 ปี
ฟันเขี้ยว11-13 ปี
ฟันกรามน้อยซี่ที่ 110-11 ปี
ฟันกรามน้อยซี่ที่ 210-12 ปี
ฟันกรามซี่ที่ 16-7 ปี
ฟันกรามซี่ที่ 212-13 ปี
ฟันกรามซี่ที่ 318-25 ปี

ฟันถือเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างหนึ่งของมนุษย์ และมีความสำคัญต่อบุคลิกภาพ ดังนั้นจึงควรให้ความใส่ใจดูแลและรักษาอยู่เสมอ ด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละสองครั้ง ตอนเช้าและก่อนนอน หรือทุกครั้งหลังอาหาร เพื่อกำจัดเศษอาหาร และ คราบจุลินทรีย์ และควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจเช็คสภาพฟันทุกๆ 6 เดือน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น