วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

มหาวิทยาลัยมหิดล


มหาวิทยาลัยมหิดล มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่การเป็นโรงเรียนแพทย์ ณ โรงศิริราชพยาบาล ชื่อว่า "โรงเรียนแพทยากร" ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2432 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากนั้นในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 จึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม "มหิดล" อันเป็นพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ใช้แทนชื่อมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยมหิดล
เมื่อปี พ.ศ. 2549 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยระดับดีเลิศและเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ทั้งในด้านการเรียนการสอนและการวิจัย จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของไทย โดย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา [1]นอกจากนี้ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ยังรับรองมาตรฐานของสถาบันในระดับดีมากให้กับมหาวิทยาลัยมหิดล
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหิดลจัดการเรียนการสอนใน 15 คณะ บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัย และสถาบันต่าง ๆ รวมทั้งหมด 551 หลักสูตร โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วนใน 6 พื้นที่คือ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพมหานครฯ (ประกอบด้วยพื้นที่บางกอกน้อย พญาไท และวิทยาลัยการจัดการ), มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจบุรี, มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ และ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ

เนื้อหา

 [ซ่อน]

[แก้]ประวัติ

ดูบทความหลักที่ ประวัติมหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยมหิดล มีความเป็นมาจาก โรงศิริราชพยาบาล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้นบริเวณพระราชวังบวรสถานพิมุข หรือที่เรียกว่า วังหลัง[2] ต่อมาในปี พ.ศ. 2432 จึงมีพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนแพทย์ ณ โรงศิริราชพยาบาล และตั้งชื่อโรงเรียนแพทย์ว่า "โรงเรียนแพทยากร"[3] จัดการเรียนการสอนในระดับประกาศนียบัตร 3 ปี หลังจากนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเปิดตึกของโรงเรียนแพทย์ จึงได้พระราชทานนามโรงเรียนแพทยากรใหม่ว่า "โรงเรียนราชแพทยาลัย" ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็น "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" จึงได้รวมโรงเรียนราชแพทยาลัยเข้าเป็นคณะหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2460[4] โดยใช้ชื่อว่า "คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ต่อมา จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล"
เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 ได้แยก คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งเป็น "มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์"[5] สังกัดกระทรวงการสาธารณสุข โดยได้จัดตั้งคณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยมากมาย เช่น คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะทันตแพทยศาสตร์ พญาไท คณะเภสัชศาสตร์ พญาไท ต่อมาได้มีการปฎิรูปครั้งใหญ่ โดยการโอนคืนคณะที่ซ้ำซ้อนต่างๆ ออกจากมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์คืนไปยังต้นสังกัดเดิม โดยมีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปเป็น คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ไปเป็น คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะสัตว์แพทยศาสตร์ โอนให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์ โอนกลับไปสังกัดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ต่อมา ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามมหาวิทยาลัยว่า มหาวิทยาลัยมหิดล อันเป็นพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกแทนชื่อมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เดิม[6]
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหิดลจัดการเรียนการสอนภายในคณะ สถาบัน วิทยาลัยต่าง ๆ ครอบคลุมทั้งในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ และเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมลงพระปรมาภิไธย ในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2550[7] และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เป็นผลทำให้มหาวิทยาลัยได้เปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

[แก้]สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

  • ตรามหาวิทยาลัย
เมื่อมีการสถาปนามหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2486 ทางมหาวิทยาลัยได้ใช้ตราวงกลม 2 ชั้น ภายในเป็นรูปงูพันคบเพลิง วงนอกด้านบนเขียนว่า "อตฺ ตานํ อุปมํ กเร" ด้านล่างเขียนว่า "มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์" เป็นตราประจำมหาวิทยาลัยเรื่อยมา
จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานชื่อ "มหาวิทยาลัยมหิดล" เป็นชื่อมหาวิทยาลัยแทนชื่อเดิม ดังนั้น มหาวิทยาลัยจึงได้เปลี่ยนตราสัญลักษณ์ใหม่ โดยให้นายแพทย์นันทวัน พรหมผลิน เป็นผู้ออกแบบและอาจารย์กอง สมิงชัย เป็นผู้ช่วยร่างแบบ เมื่อออกแบบเสร็จแล้วจึงนำเสนอทูลเกล้าฯ เพื่อขอพระบรมราชวินิจฉัย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่หม่อมราชวงศ์มิตรารุณ เกษมศรี สถาปนิกพิเศษประจำสำนักพระราชวัง ในการปรับแก้ไขตรีและพระมหามงกุฏของตราให้เป็นแบบไทยและพระราชทานตราให้แก่มหวิทยาลัยมหิดลเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2512[8] ซึ่งมีลักษณะเป็นวงกลม 2 ชั้น โดยวงกลมชั้นในมีพื้นหลังเป็นสีน้ำเงิน ตรงกลางเป็นตราประจำราชสกุลมหิดลสีเหลืองทอง ส่วนวงกลมชั้นนอกนั้นมีพื้นหลังสีขาวตัวอักษรสีเหลืองทองด้านบนเขียนว่า "อตฺ ตานํ อุปมํ กเร" ด้านล่างเขียนว่า "มหาวิทยาลัยมหิดล" คั่นด้วยดอกประจำยามสีเหลืองทอง[9]

[แก้]ทำเนียบอธิการบดี

มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์
อธิการบดีวาระการดำรงตำแหน่ง
1. พระอัพภันตราพาธพิศาล12 มีนาคม พ.ศ. 2485 - 16 เมษายน พ.ศ. 2488
2. ศาสตราจารย์อุปการคุณ หลวงเฉลิมคัมภีรเวชช์17 เมษายน พ.ศ. 2488 - 15 กันยายน พ.ศ. 2500
3. ศาสตราจารย์หลวงพิณพากย์พิทยาเภท16 กันยายน พ.ศ. 2500 - 15 สิงหาคม พ.ศ. 2501
4. ศาสตราจารย์นายแพทย์สวัสดิ์ แดงสว่าง16 สิงหาคม พ.ศ. 2501 - 2 มิถุนายน พ.ศ. 2507
5. ศาสตราจารย์นายแพทย์ชัชวาล โอสถานนท์3 มิถุนายน พ.ศ. 2507 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2512
มหาวิทยาลัยมหิดล
อธิการบดีวาระการดำรงตำแหน่ง
6. ศาสตราจารย์นายแพทย์ชัชชวาล โอสถานนท์9 ธันวาคม พ.ศ. 2512 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514
7. ศาสตราจารย์นายแพทย์กษาน จาติกวนิช1 ธันวาคม พ.ศ. 2514 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2522
8. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ดร.ณัฐ ภมรประวัติ9 ธันวาคม พ.ศ. 2522 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2534
9. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี9 ธันวาคม พ.ศ. 2534 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2538
10. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ9 ธันวาคม พ.ศ. 2538 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2542
11. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์พรชัย มาตังคสมบัติ9 ธันวาคม พ.ศ. 2542 - 8 ธันวาคม พ.ศ. 2550
12. ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร9 ธันวาคม พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน

[แก้]วิทยาเขตและสถานที่ตั้ง

มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการกำหนดชื่อตามที่ตั้ง 5 แห่ง ได้แก่ [12]
  • มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพมหานครฯ แบ่งออกได้ 3 บริเวณ ได้แก่
    • มหาวิทยาลัยมหิดล บางกอกน้อย เป็นที่ตั้งของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ และคณะเทคนิคการแพทย์ เป็นวิทยาเขตที่เก่าแก่ที่สุดของประเทศ ก่อตั้งในปี พศ. 2432
    • มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท มี 3 บริเวณย่อย [13] ได้แก่
      • บริเวณถนนพระรามที่ 6 เป็นที่ตั้งของคณะวิทยาศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และ ศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬา
      • บริเวณถนนราชวิถี เป็นที่ตั้งของคณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะเวชศาสตร์เขตร้อน
      • บริเวณเขตราชเทวี เป็นที่ตั้งของคณะเภสัชศาสตร์ และคณะทันตแพทยศาสตร์
    • วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ถนนวิภาวดีรังสิต เขตพญาไท เป็นที่ตั้งของวิทยาลัยการจัดการ
  • มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ตั้งอยู่ ณ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นที่ตั้งของคณะเทคนิคการแพทย์ ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะวิทยาศาสตร์ (เพื่อสอนวิชาพื้นฐานในสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์แสะเทคโนโลยี) คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ วิทยาลัยนานาชาติ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา วิทยาลัยราชสุดา วิทยาลัยศาสนศึกษา ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก[1] โรงแรม Salaya Pavilion และหน่วยงานอื่นๆ ก่อตั้งในปี 2525
  • มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี ตั้งอยู่ ณ ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
  • มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์ ตั้งอยู่ ณ ตำบลบึงเสนาท อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ (โครงการจัดตั้งวิทยาเขต)
  • มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอำนาจเจริญ ตั้งอยู่ ณ ตำบลมุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ (โครงการจัดตั้งวิทยาเขต)

[แก้]โครงสร้างการบริหารและการศึกษา

มหาวิทยาลัยมหิดลเปิดสอนในระบบหน่วยกิต ปัจจุบันมีการจัดการเรียนการสอนและการวิจัยทั้งสิ้น 551 สาขาวิชา[14] ครอบคลุมทั้งสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคมศาสตร์ ทั้งในหลักสูตรภาษาไทยและหลักสูตรนานาชาติ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่สามารถผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาเอกได้มากที่สุดในประเทศ[15] ในปี พ.ศ. 2548 มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยรัฐที่มีปริมาณนักศึกษาต่างชาติมากที่สุด[16] และใน พ.ศ. 2549 และได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณประเภทธุรกิจบริการดีเด่นกลุ่มการศึกษานานาชาติจากนายกรัฐมนตรี (Prime Minister’s Export Award 2006) เพื่อประกาศเกียรติคุณมหาวิทยาลัยมหิดลในฐานะที่ได้รับความนิยมจากชาวต่างประเทศมากที่สุด (Most recognized service) ในพิธีประกาศเกียรติคุณและมอบรางวัล เมื่อวันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล[17]
ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมหิดล มีส่วนงาน หน่วยงาน และกลุ่มภารกิจในสังกัด ประกอบด้วย สำนักงานสภามหาวิทยาลัย สำนักงานอธิการบดี วิทยาเขตกาญจนบุรี บัณฑิตวิทยาลัย หอสมุดและคลังความรู้ 16 คณะ 7 สถาบัน 6 วิทยาลัย 10 ศูนย์ 12 กองงานในสำนักงานอธิการบดี และ 2 โครงการจัดตั้งวิทยาเขต นอกจากนี้ยังมีสถาบันสมทบอีก 20 แห่ง[18] มีหน่วยงานในสังกัด ดังนี้

[แก้]คณะ


[แก้]วิทยาลัย

[แก้]สถาบัน

  • สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้[2]
  • สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน[3]
  • สถาบันวิจัยประชากรและสังคม[4]
  • สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย[5]
  • สถาบันโภชนาการ[6]
  • สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว[7]
  • สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล[8]

[แก้]ศูนย์

  • ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา [9]
  • ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี [10]
  • ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก [11]

[แก้]โรงแรม

  • โรงแรม Salaya Pavilion เป็นโรงแรมของวิทยาลัยนานาชาติเพื่อใช้เป็นสถานที่ฝึกหัดของนักศึกษาในสาขา Travel Industry Management และเปิดให้บุคคลภายนอกใช้บริการ มี 150 ห้องพัก ระบบอำนวยความสะดวกและความบันเทิงครบตามมาตรฐานโรงแรมชั้นนำของประเทศ มีห้องจัดสรรมนาและการประชุมอย่างสมบูรณ์แบบ [19]

[แก้]วิทยาเขต

มหาวิทยาลัยมหิดลมีวิทยาเขตนอกพื้นที่กรุงเทพมหานครฯ และปริมณฑล ทั้งสิ้น 3 วิทยาเขต โดยมี 2 วิทยาเขตอยู่ในโครงการจัดตั้ง
  • วิทยาเขตกาญจนบุรี[20] เปิดสอน
    • หลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และสาขาการจัดการทั่วไป
    • หลักสูตรบัญชีบัณฑิต สาขาวิชาบัญชี
    • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการอาหาร สาขาชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ สาขาวิทยาศาสตร์การเกษตร และสาขาธรณีศาสตร์ โดยศึกษาวิชาพื้นฐานที่คณะวิทยาศาสตร์ (ศาลายา) 1 ปี และศึกษาที่วิทยาเขตกาญจนบุรี อีก 3 ปี
  • วิทยาเขตนครสวรรค์[21] (โครงการจัดตั้ง)
  • คณะและศูนย์
    • คณะเกษตร
    • คณะกายภาพพลังงานและสิ่งแวดล้อม
    • คณะการจัดการความรู้
    • คณะพยาบาลศาสตร์
    • คณะประมง
    • คณะจิตปัญญาศึกษา
    • คณะสาธารณสุขศาสตร์
    • ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมบึงบอระเพ็ด
    • ศูนย์การแพทย์แผนไทย
    • ศูนย์ภาษาและวัฒนธรรมจีนศึกษา
  • หลักสูตรแพทย์เฉพาะทาง (สำหรับแพทย์ที่ใช้ทุนแล้ว 3 ปี)[22]
    • แพทย์ศัลยกรรมทั่วไป
    • แพทย์ประสาทศัลยศาสตร์
    • แพทย์ศัลยกรรมกระดูก
    • แพทย์วิสัญญี
    • แพทย์สูตินารีเวช
    • แพทย์อายุรกรรม
    • แพทย์กุมารเวชกรรม
  • วิทยาเขตอำนาจเจริญ[23] (โครงการจัดตั้ง)
    • หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล

[แก้]สถาบันสมทบ

มหาวิทยาลัยมหิดลได้ให้ความช่วยเหลือสถาบันการศึกษาต่างๆ มากมายในด้านวิชาการและงานวิจัยโดยรับเข้าเป็นสถาบันสมทบ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าเป็นสถาบันสมทบแห่งแรกในปี พศ. 2518 นักศึกษาของบางสถาบันได้เข้าร่วมการเรียนการสอนกับมหาวิทยาลัยมหิดลตั้งแต่ปีที่ 1 ในขณะที่บางสถาบันมีหลักสูตรเป็นเอกเทศ การรับปริญญาบัตรของสถาบันสมทบอาจเป็นการภายในหรือเข้าร่วมพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบันมีสถาบันสมทบจำนวน 20 แห่ง

[แก้]งานวิจัย

มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการยอมรับว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นงานวิจัย โดยในปัจจุบันมีกลุ่มงานวิจัยใน 5 สาขาหลักด้วยกัน ได้แก่ กลุ่มวิทยาศาสตร์การแพทย์และคลินิก กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาธารณสุข กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ การจัดการ และศิลปศาสตร์ และกลุ่มภาษาและวัฒนธรรม[24] เมื่อพิจารณาจากจำนวนผลงานทางวิชาการระดับนานาชาตินั้น พบว่า มหาวิทยาลัยมหิดลมีจำนวนผลงานทางวิชาการที่ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติบนฐานข้อมูลของ ISI databases เป็นอันดับ 1 ติดต่อกันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 - 2549 [25] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปี พ.ศ. 2548 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นั้น มีจำนวนผลงานวิจัยเป็นอันดับ 1 เมื่อเทียบกับคณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในประเทศ[26] และเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับเงินทุนสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนมากที่สุดในประเทศ[27]

[แก้]อันดับและมาตรฐานการศึกษา

ในปี พ.ศ. 2549 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยระดับดีเลิศ และเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ทั้งในด้านการเรียนการสอนและการวิจัย จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของไทย โดย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา[1] นอกจากนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ซึ่งได้ประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2550 นอกจากนี้ยังจัดให้หน่วยงานของมหาวิทยาลัย ได้แก่ สถาบันอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน และคณะเทคนิคการแพทย์ อยู่ในระดับดีมาก[28]
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ยังได้รับรองมาตรฐานการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดลในระดับดีมาก โดบกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ/ชีวภาพ กลุ่มวิชาวิศวกรรมศาสตร์ กลุ่มวิชาบริหารธุรกิจ พาณิชยศาสตร์ บัญชี การจัดการ การท่องเที่ยว และเศรษฐศาสตร์ กลุ่มวิชาศิลปกรรม วิจิตรศิลป์ และประยุกต์ศิลป์ และกลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้รับการรับรองมาตรฐานในระดับดีขึ้นไปทั้งหมด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550[ต้องการอ้างอิง]

[แก้]ชีวิตในมหาวิทยาลัย

นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยมหิดล จะเข้าศึกษา ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ร่วมกันเป็นเวลาหนึ่งปีหรือนานกว่า จากนั้นแยกย้ายกันไปตามคณะของตนตามวิทยาเขตต่างๆ บรรยากาศในการใช้ชีวิตของนักศึกษามีความหลากหลายมากเพราะนักศึกษาแต่ละคนมาจากต่างคณะกัน เช่น แพทยศาสตร์ ดุริยางคศิลป์ วิทยาศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ แต่ได้ใช้ชีวิตร่วมกันในปีแรก มีกิจกรรมมากมายเช่น รับน้อง การเชียร์แสตนด์ งานอำลาศาลายา งานวันมหิดล เป็นต้น มีสถานที่ออกกำลังกายและลานกีฬาให้นักศึกษาได้เลือกตามความต้องการ บรรยากาศในศาลายาจะมีจุดเด่นคือ การสัญจรหลักของนักศึกษาคือจักรยานหรือรถราง รวมถึงรถรับส่งระหว่างวิทยาเขต และเมื่อเข้าใกล้ช่วงสอบในแต่ละภาคเรียน จะพบนักศึกษาจำนวนมากที่นั่งอ่านทบทวนหนังสือตามสถานที่ต่างๆ ท่ามกลางบรรยากาศธรรมชาติรอบมหาวิทยาลัย

[แก้]วันสำคัญของมหาวิทยาลัยมหิดล

จอมพลเรือ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

[แก้]บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยมหิดล

คณาจารย์และบุคคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดลนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทยมากที่สุด และเป็นมหาวิทยาลัยที่มีผู้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ มากที่สุดในประเทศไทย [29] โดยมีรายพระนาม และรายนามบุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัย เช่น

[แก้]อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน, เปิด 50 อันดับสาขาด้าน "วิจัย-สอน", ฉบับวันที่ 01 กันยายน พ.ศ. 2549 หน้า 26
  2. ^ ราชกิจจานุเบกษา, ว่าด้วยกอมิตีผู้จัดการโรงพยาบาล ตั้งคณะกรรมการพิจารณาการจัดตั้งโรงพยาบาล (ที่วังกรมพระราชวังบวรสถานพิมุขฝ่ายหลัง (วังหลัง), เล่ม ๔, ตอน ๕, ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๓๐, หน้า ๓๔
  3. ^ แจ้งความกระทรวงพระธรรมการ แผนกกรมพยาบาล เปิดโรงเรียนแพทยากร
  4. ^ ประกาศกระทรวงธรรมการ เรื่อง รวมโรงเรียนราชแพทยาลัยเข้ากับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  5. ^ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ พุทธศักราช ๒๔๘๖
  6. ^ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๑๒
  7. ^ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๕๐
  8. ^ ที่มาแห่งตรามหาวิทยาลัยมหิดล
  9. ^ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง ตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๕๓, เล่ม ๑๒๗, ตอนพิเศษ ๙๘ ง, ๑๘ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๓, หน้า ๘๘
  10. ^ สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย : สีน้ำเงินแก่
  11. ^ ต้นกันภัยมหิดล
  12. ^ http://www.mahidol.ac.th/muthai/history_current.htm
  13. ^ http://www.mahidol.ac.th/mueng/campuses.htm
  14. ^ Mahidol University : Academic Courses of Study Offered
  15. ^ จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา จำแนกตามประเภทสถาบันและระดับการศึกษา ปีการศึกษา 2546, สำนักส่งเสริมกิจการอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
  16. ^ รายงานประจำปี 2549 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
  17. ^ PM Award ประเภทธุรกิจบริการกลุ่มการศึกษานานาชาติที่ได้รับความนิยมจากต่างประเทศมากที่สุด
  18. ^ http://www.mahidol.ac.th/muthai/history_current.htm
  19. ^ http://asiatravel.com/thailand/salaya/index.html
  20. ^ http://www.ka.mahidol.ac.th
  21. ^ http://www.na.mahidol.ac.th
  22. ^ http://www.na.mahidol.ac.th/mahidol/filedownload/doctor012.htm
  23. ^ http://www.acr.mahidol.ac.th/
  24. ^ Mahidol University : Research
  25. ^ Svasti MRJ, Asavisanu R. Update on Thai Publications in ISI Databases (1999-2005) ScienceAsia 2006;32 (2) :101-106.
  26. ^ Svasti MRJ, Asavisanu R., Four Decades of Excellence in Research - Revealed by International Database Searches., ใน "48 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (2501-2549)" หนังสือที่ระลึก 4 รอบ แห่งการสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 21 ตุลาคม 2549 หน้า 67-70.
  27. ^ Mahidol University : Notable facts - Has highest budget of any university in Thailand
  28. ^ ผู้จัดการ, เปิดผลจัดอันดับสุดยอดมหา’ลัยด้านวิทย์จุฬาฯ-มหิดลแชมป์ มธ.เจ๋งด้านวิศวกรรม, 2 ตุลาคม 2550
  29. ^ จำนวนบุคลากรในมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน ปี 2549

[แก้]ดูเพิ่ม

[แก้]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น