วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ประเทศอินเดีย

ประเทศอินเดีย หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐอินเดีย ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียใต้ เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของอนุทวีปอินเดีย มีประชากรมากเป็นอันดับที่สองของโลก และเป็นประเทศประชาธิปไตยที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยมีประชากรมากกว่าหนึ่งพันล้านคน มีภาษาพูดแปดร้อยภาษาโดยประมาณ ด้านเศรษฐกิจ อินเดียมีอำนาจการซื้อมากเป็นอันดับที่สี่ของโลก ทั้งนี้ อาณาเขตทางทิศเหนือติดกับจีน เนปาล และภูฏาน ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับปากีสถาน ทางตะวันออกเฉียงเหนือติดพม่า ทางตะวันออกเฉียงใต้และตะวันตกเฉียงใต้จรดมหาสมุทรอินเดีย ทางตะวันออกติดบังกลาเทศ และมีพื้นที่ 3,287,590 ตารางกิโลเมตร

เนื้อหา

[ซ่อน]

[แก้] ประวัติศาสตร์

ประมาณ 1,500 ปีก่อนคริสตกาล ชาวดราวิเดียน (Dravidian=ทราวิฑะ:สันสกฤต) และชาวอารยัน (Aryan) เริ่มกำเนิดอารยธรรมต่าง ๆ ในลุ่มแม่น้ำสินธุ ต่อมาในสมัยอาณาจักรเมารยะ (ประมาณ 300 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งมีดินแดนในตอนเหนือตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำสินธุจรดอ่าวเบงกอล พระเจ้าอโศกมหาราชได้สร้างความรุ่งเรืองในการปกครอง ตลอดจนการสนับสนุนการเผยแผ่พุทธศาสนา ในสมัยราชวงศ์โมกุล (คริสต์ศตวรรษที่ 16 – 18) เป็นสมัยที่มีการแพร่ขยายอิทธิพล วัฒนธรรมโมกุลอย่างกว้างขวาง ทั้งในด้านการปกครอง ภาษา ศิลปะ สถาปัตยกรรม และศาสนาอิสลาม อังกฤษเริ่มเข้ามามีอิทธิพลในอนุทวีป ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เพื่อค้าขายพร้อม ๆ กับครอบครองดินแดนและแทรกแซงในการเมืองท้องถิ่น จนกระทั่งอินเดียตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ ในปี พ.ศ. 2420 (ค.ศ. 1877) โดยมีสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งอังกฤษทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระเจ้าจักรพรรดินีแห่งอินเดีย หลังจากการรณรงค์ต่อต้านการปกครองของอังกฤษมาเป็นเวลานาน อินเดียจึงได้รับเอกราชเมื่อปี พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) และได้รับการสถาปนาเป็นสาธารณรัฐอินเดียในปี พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950)

[แก้] การเมือง

  • ประธานาธิบดี นางประติภา เทวีสิงห์ ปาฏีล (प्रतिभा पाटिल Pratibha Devisingh Patil)
  • นายกราชยสภา นายกฤษาณ กันต์ (Krishan Kant) รองประธานาธิบดี ทำหน้าที่นายกราชยสภาโดยตำแหน่ง
  • นายกโลกสภา นายคานตี โมหัน พลโยคี (Ganti Mohana Balayogi) (เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1999)
  • นายกรัฐมนตรี นายมานโมฮัน ซิงห์ (Manmohan Singh)
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นายชสวันต์ สิงห์ (Jaswant Singh), เข้ารับตำแหน่งเมื่อ 13 ตุลาคม ค.ศ. 1999
  • โครงสร้างการปกครอง
ฝ่ายนิติบัญญัติ ระบบรัฐสภา ประกอบด้วยราชยสภา (Rajya Sabha) เป็นสภาสูง มีสมาชิกจำนวน 245 คน สมาชิกส่วนใหญ่ มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม อีกส่วนมาจากการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี และโลกสภา (Lok Sabha) เป็นสภาล่าง มีสมาชิกจำนวน 545 คน สมาชิกจำนวน 543 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงและอีก 2 คน มาจากการคัดเลือกของประธานาธิบดี จากกลุ่มอินโด-อารยันในประเทศอยู่ในวาระคราวละ 5 ปี เว้นเสียแต่จะมีการยุบสภา
ฝ่ายบริหาร คณะรัฐมนตรี มีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล
ฝ่ายตุลาการ ศาลฎีกาเป็นศาลสูงสุดของประเทศ ผู้พิพากษาประจำศาลฎีกามีจำนวนไม่เกิน 25 คน แต่งตั้งโดยประธานาธิบดี ระดับรัฐมีศาลสูงเป็นศาลสูงสุดของแต่ละรัฐ รองลงมาเป็นศาลบริวาร (Subordinate Courts) ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ
  • การปกครอง ประธานาธิบดีเป็นประมุขของรัฐ และเป็นประมุขของฝ่ายบริหาร แต่อำนาจการบริหารที่แท้จริงอยู่ที่นายกรัฐมนตรีอำนาจ การปกครองแบ่งเป็นรัฐต่าง ๆ 25 รัฐ และดินแดนสหภาพของรัฐบาลกลาง (Union Territories) อีก 7 เขต ขณะนี้ (มกราคม 2544) โลกสภาได้เห็นชอบร่างรัฐบัญญัติในการจัดตั้งรัฐใหม่ 3 รัฐ คือ รัฐฉัตติสครห์ (Chattisgarh) รัฐอุตตรานจัล (Uttaranchal) และรัฐฌาร์ขันท์ (Jharkhand) ซึ่งแยกออกจากรัฐมัธยประเทศ รัฐอุตตรประเทศ และรัฐพิหาร ตามลำดับ

[แก้] การเมืองภายใน

อินเดียมีการเลือกตั้งครั้งล่าสุด ซึ่งเป็นสมัยที่ 13 เมื่อวันที่ 5 กันยายน - 3 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ภายหลังจากที่รัฐบาลชุดก่อนของนายกรัฐมนตรี อตล เพหารี วัชปายี (Atal Behari Vajpayee) ได้แพ้การพิสูจน์เสียงข้างมาก (Vote of Confidence) ในโลกสภาเพียง 1 เสียง เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2542 เนื่องจากพรรค All India Anna Dravida Munnetra Kazagham (AIADMK) ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลได้ประกาศถอนการสนับสนุนรัฐบาลผสมของนายวัชปายี อย่างไรก็ดี ผลการเลือกตั้งปรากฏว่านายวัชปายี ผู้นำพรรคภารติยชนตะ (Bharatiya Janata Party : BJP) ซึ่งร่วมกับพรรคการเมืองอื่น ๆ อีก 25 พรรค ในนามพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติ (National Democratic Alliance : NDA) ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุด ส่งผลให้นายวัชปายีเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอินเดียอีกสมัย โดยได้กระทำพิธีสาบานตนรับตำแหน่งตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2542 มีเสียงสนับสนุนในสภาผู้แทนราษฎร (โลกสภา) อินเดีย ทั้งสิ้น 296 เสียง จากจำนวนเสียงทั้งหมด 543 เสียง ซึ่งรัฐบาลชุดปัจจุบันของอินเดียเป็นรัฐบาลผสมเสียงข้างมาก ซึ่งนับว่ามีฐานเสียงแข็งแกร่งกว่าเดิม (ครั้งที่แล้ว พรรค BJP และพันธมิตรจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อยด้วยคะแนนเสียง 264 เสียง) ส่วนพรรคคองเกรส และพรรคพันธมิตรได้รับคะแนนเสียงเพียง 133 เสียงเท่านั้น (พรรคคองเกรสพรรคเดียวได้ 112 เสียง) ซึ่งนับว่าเป็นคะแนนเสียงที่ต่ำที่สุดในรอบ 50 ปีของประวัติศาสตร์การเมืองของพรรคคองเกรส ส่งผลให้พรรคคองเกรสและพันธมิตรเป็นพรรคฝ่ายค้าน

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

อินเดียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 28 รัฐ (States) (ซึ่งแบ่งย่อยลงเป็นเขต) และ 7 ดินแดนสหภาพ (Union Territories) ได้แก่
แผนที่แสดงรัฐและดินแดนสหภาพของประเทศอินเดีย
รัฐ
ดินแดนสหภาพ

[แก้] เศรษฐกิจ

  • อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์ภายในประเทศเบื้องต้น (GDP Growth) ร้อยละ 5.8 (พ.ศ. 2543)
  • รายได้ประชาชาติเบื้องต้นต่อหัว (per – capita GNP) 415 ดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2542)
  • เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ 39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (รวมมูลค่าทองคำ) (พ.ศ. 2543)
  • ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ 1,760 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (สิงหาคม พ.ศ. 2542)
  • อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย ร้อยละ 6.0 (พ.ศ. 2543)
  • ดุลการค้า อินเดีย – โลก ขาดดุล 17.10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (กันยายน พ.ศ. 2543)
  • มูลค่าการส่งออก 21.70 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เมษายน-กรกฎาคม พ.ศ. 2543)
  • มูลค่าการนำเข้า 38.80 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (เมษายน-กรกฎาคม พ.ศ. 2543)
  • การลงทุนของต่างชาติระหว่างปี พ.ศ. 2541 – 2542 2.46 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • มูลค่าตลาดทุน 11 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (พ.ศ. 2543) ประเทศคู่ค้าสำคัญ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เยอรมนี ซาอุดีอาระเบีย และสหราชอาณาจักร สินค้าออกที่สำคัญ อัญมณี และกึ่งอัญมณี ไข่มุก เสื้อผ้าสำเร็จรูป ชา และกาแฟ ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ ยาและเวชภัณฑ์ สินค้าเข้าที่สำคัญ น้ำมันปิโตรเลียม เครื่องจักร อัญมณีและกึ่งอัญมณี แร่เหล็ก และน้ำมันพืช

[แก้] ประชากร

ประชากรอินเดียมีประมาณ 1,000 ล้านคน โดยมีเชื้อชาติ อินโด-อารยัน ร้อยละ 72 ดราวิเดียน ร้อยละ 25 มองโกลอยด์ ร้อยละ 2 และอื่น ๆ ร้อยละ 1 อัตราการเพิ่มของประชากร ร้อยละ 1.8 พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) และอัตราการรู้หนังสือ ร้อยละ 52.1

[แก้] วัฒนธรรม

[แก้] ภาษา

อินเดียมีประชากรกว่า 1,100 ล้านคน ประชากรเหล่านี้มีความแตกต่างทางด้านชาติพันธุ์ และวัฒนธรรม มีภาษาหลักใช้พูดถึง 16 ภาษา เช่น ภาษาฮินดี ภาษาอังกฤษ ภาษาเบงกาลี ภาษาอูรดู ฯลฯ และมีภาษาถิ่นมากกว่า 100 ภาษา ภาษาฮินดี ถือว่าเป็นภาษาประจำชาติ เพราะคนอินเดียกว่าร้อยละ 30 ใช้ภาษานี้ คนอินเดียที่อาศัยอยู่รัฐทางตอนเหนือและรัฐทางตอนใต้นอกจากจะใช้ภาษาที่แตกต่างกันแล้ว การแต่งกาย การรับประทานอาหารก็แตกต่างกันออกไปด้วย^
ดูเพิ่มได้ที่ ภาษาราชการของอินเดีย

[แก้] ศาสนา

เนื่องจากประเทศอินเดียเป็นแหล่งกำเนิดพระศาสนาที่มีความสำคัญในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ศาสนาพราหมณ์ และ พระพุทธศาสนา ชาวอินเดียจึงถือว่าครอบครัวเป็นสถาบันทางสังคมที่มีความสำคัญที่สุด ระบบครอบครัวของอินเดียเป็นระบบครอบครัวร่วม หรือครอบครัวขนาดใหญ่ สมาชิกในครอบครัวประกอบด้วย ปู่ ย่า พ่อ แม่ ลูก หลาน และ เหลน อยู่ร่วมกันภายในครอบครัวเดียว ผู้อาวุโสที่สุดของฝ่ายชายจะเป็นหัวหน้าครอบครัว แม้สังคมของอินเดียยังคงมีความนับถือเรื่องวรรณะอยู่ แต่ก็ปรากฏไม่มากเท่าอดีต การดำเนินชีวิตของชาวอินเดียจะยึดถือศาสนาเป็นสิ่งสำคัญ กว่าร้อยละ 79 ของประชากรนับถือศาสนาฮินดู ร้อยละ 15 นับถือศาสนาอิสลาม ที่เหลือร้อยละ 2.5 นับถือศาสนาคริสต์ นอกนั้นนับถือศาสนาพุทธส่วนมากอยู่ลาดัก หิมาจัล สิกขิม อัสสัม เบงกอลตะวันตก และโอริสสา ศาสนาซิกข์ในรัฐปัญจาบ และศาสนาเชนในรัฐคุชรัต และอื่น ๆ รวมทั้งพวกนักบวชที่นับถือนิกายต่าง ๆ อีกมากมาย มีประมาณ 400 ศาสนาทั่วอินเดีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น